เทคนิคง่าย ๆ เพื่อหายจาก..แพนิก…อย่างถาวร
3 มีนาคม 2021
คิดใหม่…ทำใหม่…จึงจะฟื้นหายจากโรคซึมเศร้า
12 พฤษภาคม 2021
เทคนิคง่าย ๆ เพื่อหายจาก..แพนิก…อย่างถาวร
3 มีนาคม 2021
คิดใหม่…ทำใหม่…จึงจะฟื้นหายจากโรคซึมเศร้า
12 พฤษภาคม 2021
แพนิกก็แค่…ไม่สุขสบายมากหน่อย…แต่ไม่มีอันตรายใด ๆ

แพนิกก็แค่…ไม่สุขสบายมากหน่อย…แต่ไม่มีอันตรายใด ๆ

โดยปกติแล้วผู้ป่วยโรคแพนิกส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจร่างกายตามสถานบริการสุขภาพทั้งของรัฐหรือเอกชนมาแล้วและพบว่าร่างกายปกติดี ไม่ได้มีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น สิ่งนี้ยิ่งทำให้ผู้ป่วยกังวลมากขึ้นว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของฉันกันแน่ เพราะขณะมีอาการแพนิกมีความแปรปรวนต่าง ๆ เกิดขึ้นไปทั่วร่างกายไปอย่างทุกข์ทรมานแทบจะขาดใจตายเสียให้ได้

การทำความเข้าใจกับที่มาของอาการแพนิกจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคแพนิกรับรู้ถึงสาเหตุที่รองรับอาการต่าง ๆ แพนิกได้ตรงจริงและรู้สึกปลอดภัย กล้าที่จะเผชิญและรับมือกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจมากขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การหายขาดจากโรคนี้ได้อย่างแท้จริง

เพราะอะไรแพนิกถึงไม่อันตราย

อาการแพนิกเป็นการทำงานของสมองส่วนอารมณ์ที่รับรู้ไว เกิดความรู้สึกกลัวทำให้ไปกระตุ้นการทำงานของของระบบประสาทอัตโนมัติ “ซิมพาเทติก” เกิดการหลั่ง “อะดรีนาลีน” จากต่อมหมวกไต และปลดปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดกระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเป็นเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา เหมือนตอนที่เราเผชิญกับเหตุการณ์อันตรายที่เกิดขึ้นจริง แต่อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่เป็นอันตรายเพราะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวขณะที่มีการหลั่งของอะดรีนาลีน เมื่อเราสงบผ่อนคลายได้อะดรีนาลีนก็จะค่อยลดลง อาการต่าง ๆ ก็ค่อย ๆ น้อยลงและหายไปภายในเวลา 10 นาที แต่ถ้ามีความกลัวเพิ่มขึ้น กล่าวคือตกอยู่ในวงจรของอาการแพนิก คือ กลัว – อะดรีนาลีน – กลัว ก็จะทำให้อาการต่างๆคงอยู่นานครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงกว่าจะหายไป เพราะเกิดความสัมพันธ์ระหว่าง ความกลัวกับอาการแพนิกดังนี้ คือ กลัว – อะดรีนาลีน – อาการแพนิก

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าอาการต่าง ๆ ของแพนิกที่เกิดขึ้นไม่เกิดจากความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกายอื่น ๆ หากแต่เกิดจาการทำงานของระบบประสาทที่มีความแปรปรวนมาจากความกลัวที่เกิดขึ้นในจิตใจเกิดเป็นกลายวงจร กลัว – อะดรีนาลีน – อาการแพนิก

ทัศนคติเบื้องต้นที่ช่วยส่งเสริมให้เผชิญกับอาการแพนิกได้ดีขึ้น

ความคิด ความเชื่อในทางบวกมีอิทธิพลต่อการปรับพฤติกรรมการตอบสนองต่ออาการแพนิกอย่างเหมาะสม เพราะทัศนคติในทางลบจะทำให้ผู้ป่วยต้องวนเวียนอยู่ในวงจรของอาการแพนิกอย่างไม่สิ้นสุด ขณะที่ทัศนคติในทางบวกจะช่วยส่งเสริมให้มีความมุ่งมั่นและมั่นใจในการที่จะฝึกฝนตนเองให้สามารถหายขาดจากอาการแพนิกเป็นจริงได้ ดังนั้นจึงควรปรับทัศนคติและมุมมองต่ออาการแพนิกดังต่อไปนี้ คือ

ทัศนคติที่สำคัญ ที่ผู้ป่วยโรคแพนิกต้องพึงระลึกไว้เสมอและบอกตัวเองซ้ำๆให้เข้าใจตรงจริงก็คือ “แพนิกก็แค่…ไม่สุขสบายมากหน่อย..แต่ไม่มีอันตรายใดๆ” เพื่อส่งเสริมให้เกิดวงจรของการหายจากแพนิกนั่นก็คือ ไม่กลัว/ความสงบ – อะดรีนาลีนไม่หลั่ง – ไม่มีอาการแพนิก

แหล่งที่มา : Weekes C. Self help for your nerve. Oxford : Clio Press ; 1962.