โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ เปิดให้บริการรับยาเดิมต่อเนื่องทางไปรษณีย์ เพื่อลดความเสี่ยง COVID-19
25 พฤษภาคม 2020
ผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ต่อการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยจิตเภท
29 พฤษภาคม 2020
โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ เปิดให้บริการรับยาเดิมต่อเนื่องทางไปรษณีย์ เพื่อลดความเสี่ยง COVID-19
25 พฤษภาคม 2020
ผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ต่อการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยจิตเภท
29 พฤษภาคม 2020
COVID-19 กับโรคจิตเภท

COVID-19 กับโรคจิตเภท

ในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 การเจ็บป่วยทางจิตเวชในกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเภทนับเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีโอกาสได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคมตามมา ดังนี้
ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรค Covid-19
1. มีความตระหนักต่อความเสี่ยงต่าง ๆ ต่ำจากความบกพร่องความสามารถในเรื่องความรู้และเข้าใจ
2. มีความบกพร่องความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับตัวเองและการตัดสินใจทำให้เป็นการยากสำหรับผู้ป่วยในการที่จะปฏิบัติตามมาตรการต่าง ๆ ที่ได้รับการแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3. มีการใช้สารเสพติดร่วมด้วย
4. มีการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เป็นต้น
5. มีสภาพความเป็นอยู่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายเช่นผู้ต้องขังและผู้ป่วยเร่ร่อน รวมทั้งการอยู่ในสถานที่ให้บริการดูแลที่ต้องอยู่รวมกันจำนวนมาก
6. มีการสูบบุหรี่ ในปริมาณที่มาก ซึ่งอาจทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสี่ยงต่อการการติดเชื้อได้ง่าย

ผลกระทบของโรค COVID-19 ต่อผู้ป่วยโรคจิตเภท
1. อาการทางจิตของผู้ป่วยรุนแรงขึ้น เนื่องจากไวรัสโคโรน่า อาจเกี่ยวข้องกับ อาการทางจิตโดยผ่านทางกลไกที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
2. เกิดความวิตกกังวลจากอาการต่างๆที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าเช่นความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยร่วมกับกระบวนการบำบัดรักษาที่ได้รับ เช่น การแยกกักตัว
3. อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจากข้อปฏิบัติ เรื่อง การเว้นระยะห่างทางสังคมโดยการอยู่บ้านให้มากที่สุดเนื่องจากไปลดกิจกรรมการติดต่อทางสังคมตามปกติของผู้ป่วยจิตเภทที่มีอยู่น้อยอยู่แล้ว รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนเรื่องรายได้และแหล่งบริการต่าง ๆ ในชุมชน
4. ผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าวจากความเครียดในช่วงระยะเวลาของการระบาดโรค COVID-19
5. ในผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดร่วมด้วยและไม่สามารถเข้าถึงสารเสพติดที่ต้องการหรือการบำบัดรักษาที่จำเป็นอาจนำไปสู่การเกิดภาวะวิกฤตทางจิตเวชในผู้ป่วย

การจัดการเพื่อลดผลกระทบดังกล่าวในช่วงระยะเวลาของการระบาดโรค COVID-19 สามารถกระทำได้โดยการใช้ช่องทางเทคโนโลยีการสื่อสารต่าง เช่นจิตเวชทางไกล (telepsychiatry) การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video conference) เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้บริการ และเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยได้รับบริการที่จำเป็นอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย

ที่มา :

  1. Kozloff N , Mulsant BH, Stergiopoulos V, Voineskos AN .The COVID-19 Global Pandemic: Implications for People With Schizophrenia and Related Disorders. Schizophr Bull. 2020; https://doi.org/10.1093/schbul/sbaa051. Accessed May 6 , 2020.
  2. Fonseca L, Diniz E, Mendonc¸aG,Malinowski F, Mari J, Gadelha A. Schizophrenia and COVID-19:risks and recommendations. Braz J Psychiatry. 2020;00:000-000.http://dx.doi.org/10.1590/1516-4446-2020. Accessed May 6 , 2020.